วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นโยบายต่างประเทศของประเทศออสเตรเลีย

นโยบายต่างประเทศของประเทศออสเตรเลีย










       




        


        ออสเตรเลียส่งเสริมการมีบทบาทสำคัญในกรอบอาเซียน โดยออสเตรเลียกำลังจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เข้าร่วมการประชุม East Asia Summit (EAS) นอกจากนั้น ออสเตรเลียยังมีบทบาทที่แข็งขันในการรักษาสันติภาพในติมอร์เลสเต โดยได้ส่งกองกำลังร่วมกับไทยเพื่อรักษาสันติภาพในช่วงปี 2542-2545 และล่าสุดออสเตรเลียได้ส่งกองกำลังไปรักษาความสงบอีกรอบในช่วงปี2549 ถึงปัจจุบัน
        ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ และเหตุระเบิดที่เกาะบาหลี รัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศใช้สมุดปกขาวด้านนโยบายต่างประเทศและการค้าฉบับใหม่ ภายใต้ชื่อ Advancing the National Interest ในเดือนกุมภาพันธ์2546 โดยวางกรอบยุทธศาสตร์การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางด้านการเมืองความมั่นคงและเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน มุ่งเน้นการคุ้มครองคนชาติและผลประโยชน์ของออสเตรเลียจากภัยก่อการร้ายระหว่างประเทศ การต่อสู้กับปัญหาการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ การลักลอบค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติดและปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญพิเศษต่อความร่วมมือในการป้องกันภัยดังกล่าวกับประเทศและภูมิภาคที่อยู่ใกล้ออสเตรเลียที่สุด (immediate region) มุ่งเน้นความรับผิดชอบร่วมกันภายใต้กรอบสหประชาชาติ รวมทั้งการส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยมุ่งขจัดอุปสรรคทางการค้าพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลกและเอเปค และการส่งเสริมการจัดทำความตกลงการค้าเสรี
         ออสเตรเลียเห็นว่าความเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ มีความสำคัญทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคงและเศรษฐกิจ และให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ มากยิ่งขึ้นในทุกมิติของความสัมพันธ์ พร้อมกับมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านในแปซิฟิกใต้เพื่อให้สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีเสถียรภาพอันเป็นผลประโยชน์ของออสเตรเลีย
ส่วนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น มหาอำนาจออสเตรเลียได้ให้ความสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่นและจีนโดยอมีนาคม2550 และศุลกากร พร้อมทั้ง การฝึกร่วมทางการทหาร
         ในปัจจุบัน ประเด็นด้านนโยบายต่างประเทศที่ออสเตรเลียให้ความสำคัญมาก คือ การต่อต้านการก่อการร้าย ปัญหาในอิรัก และอัฟกานิสถาน การแพร่ขยายอาวุธที่มีอำนาจในการทำลายล้างสูง (non-proliferation) การปฏิรูปสหประชาชาติ และปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ เช่น พม่า ซิมบับเว และการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก (Avian Influenza Pandemic)

 นโยบายด้านการต่างประเทศปัจจุบัน (นายกรัฐมนตรีกิลลาร์ด)
          - นโยบายด้านต่างประเทศของนายกรัฐมนตรีกิลลาร์ดจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนักจากช่วงที่ผ่านมาภายใต้การนำของอดีตนายกรัฐมนตรีรัดด์ การที่นายรัดด์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีกิลลาร์ด สะท้อนความจริงที่ว่า นายรัดด์ยังคงมีอำนาจต่อรองอยู่มากภายในพรรคแรงงาน นโยบายภาพรวมยังเน้นความเป็นพันธมิตรหลักกับสหรัฐฯ และกับพันธมิตรตะวันตก เร่งเพิ่มพูนปฏิสัมพันธ์กับเอเชีย โดยเฉพาะจีน อาเซียนและอินเดีย เนื่องจากออสเตรเลียพึ่งพาตลาดจีนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในระยะที่ผ่านมา การค้าขายกับจีนมีส่วนสำคัญ ในการพยุงให้เศรษฐกิจของออสเตรเลียรอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยในปี 2552 ทำให้ออสเตรเลียต้อง ปรับทิศทางการปฏิสัมพันธ์ในภาพอื่นๆ กับจีนให้ใกล้ชิดมากขึ้นด้วยโดยลำดับ และต้องพยายามหาดุลยภาพระหว่างการเป็นพันธมิตรที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา (ในเอเชีย) กับการดำรงผลประโยชน์แห่งชาติของออสเตรเลียในการปฏิสัมพันธ์กับจีน ตลาดประเทศคู่ค้าของออสเตรเลียที่สำคัญ ได้แก่ อาเซียน-ร้อยละ 16 ญี่ปุ่น-ร้อยละ 13 จีน-ร้อยละ 12 และสหรัฐอเมริกา- ร้อยละ 11 อาเซียนนับเป็นคู่ค้า (ระดับภูมิภาค) ที่มีมูลค่าการค้ากับออสเตรเลียสูงที่สุดในปัจจุบัน
          - การแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย และผู้ลักลอบเข้าเมืองทางทะเลเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนต่อการเมือง ภายในของออสเตรเลีย และท่าทีของออสเตรเลียภายใต้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีกิลลาร์ด อาจจะทำให้ประเทศต่างๆ ที่มีประชากรต้องการอพยพเข้าไปในออสเตรเลียต้องผิดหวัง เนื่องจากมาตรการที่จะกรองคนเข้าเมืองจะเข้มข้นขึ้น และมีความมุ่งมั่นที่จะลงโทษผู้กระทำผิดคดีลักลอบขนคนเข้าเมืองขั้นเด็ดขาด ในปี 2553 รัฐบาลออสเตรเลียจะผลักดันให้เกิดการจัดตั้ง Regional Processing Center หรือ ศูนย์แรกรับผู้อพยพ ในประเทศติมอร์-เลสเต ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลติมอร์-เลสเต และประเทศ ที่เกี่ยวข้อง

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นโยบายต่างประเทศของไทย



นโยบายต่างประเทศของไทย
การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
นโยบายด้านการต่างประเทศเป็นส่วนประกอบสำคัญของนโยบายองค์รวมทั้งหมดในการบริหารราชการแผ่นดิน

   ๑.   การปกป้องและเชิดชูสถาบันกษัตริย์ และการสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย (นโยบาย รบ. ข้อ ๑, ๒)

แนวทาง คือ การเน้นย้ำการมองไปข้างหน้า และยืนยันการก้าวไปสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และยั่งยืนของไทย ตลอดจนศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางด้านต่าง ๆ ของไทยจากที่ตั้งทาง ยุทธศาสตร์ ความเข้มแข็งของพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และการมีบทบาทในประชาคมระหว่างประเทศ ตลอดจนการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ สถาบันฯ
กิจกรรมหลัก
๑)การชี้แจงต่อคณะทูต/ บุคคลสำคัญ/ decision-makers/ องค์การระหว่างประเทศ/ ภาคเอกชน/ สื่อมวลชน/ ชุมชนไทย ในต่างประเทศ
๒)การจัดทำ PR Campaign/ การจัด Roadshow
๓) การเชิญสื่อมวลชนต่างประเทศเยือนไทย
๔)การดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันฯ
๒. การกระชับความสัมพันธ์กับต่างประเทศและส่งเสริมบทบาทไทยในเวทีระหว่างประเทศ (นโยบาย รบ. ข้อ ๒, , ๗) 
แนวทาง คือ การสานต่อความร่วมมือกับประเทศ เพื่อนบ้านและนานาประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคี และต่อยอดความร่วมมือกับประเทศยุทธศาสตร์/ มีศักยภาพ เพื่อส่งเสริมความมั่นคง ในภูมิภาคและในระดับโลก และส่งเสริม ความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนร่วมกันไปในทุกมิติ
กิจกรรมหลัก
๑)การเยือนและการประชุมทวิภาคีและพหุภาคี ในระดับราชวงศ์/ ผู้นำ/ รมว.กต./ ผู้บริหารระดับสูง
๒)โครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา
๓) โครงการความร่วมมือด้านต่าง ๆ
๔) โครงการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประเทศเพื่อนบ้าน
๓. การทูตเพื่อประชาชน (นโยบาย รบ. ข้อ ๒)
แนวทาง คือ การให้ความคุ้มครองและดูแลคนไทย ในต่างประเทศ รวมทั้งคนไทยที่ถูกหลอกเป็นผู้เสียหายในขบวนการค้ามนุษย์ เช่น ค้าประเวณี ลูกเรือประมงไทย และแรงงานไทยที่ประสบปัญหา ในต่างประเทศ การให้บริการด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน เช่น การทำหนังสือเดินทาง
กิจกรรมหลัก
(๑)    การร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานอื่น ๆ
(๒)(๒) การจัดทำและพัฒนาระบบ Application, E-Visa, Database ของระบบตรวจลงตราและการกงสุล
(๓)  (๓) การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนไทยในต่างประเทศ
๔. การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การลดความเลื่อมล้ำของสังคม การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรฯ (นโยบาย รบ. ข้อ ๒, , , ๑๐, ๑๑)
แนวทาง คือ การบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภายใน เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ ในด้านที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการชี้แจงทำความเข้าใจและให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการและ ผลการดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาของไทย
กิจกรรมหลัก
๑)การเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น การประชุมด้านสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรน้ำ
๒) การประชุมและโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับการแก้ไข บริหารจัดการชายแดน และการแก้ไขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้
๓) การร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานไทยอื่น ๆ  นโยบายต่างประเทศของไทย
๕. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (นโยบาย รบ. ข้อ ๖, , ๑๑)
แนวทาง คือ การสร้างความตื่นตัวต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ผ่านช่องทางต่าง ๆ และร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาค (connectivity) และป้องกัน/ แก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน กับประเทศคู่เจรจา และบทบาทการเป็นประเทศ ผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-จีน
กิจกรรมหลัก
๑)  การประชุมในกรอบต่าง ๆ ของ ASEAN
๒) การหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓) การผลักดันการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๔) โครงการอาเซียนสัญจร
๕) โครงการบัวแก้วสัญจร
๖) โครงการสัมมนาวิทยุชายแดนและวิทยุสราญรมย์สัญจร
๗) การจัดบรรยายให้ความรู้ตามสถานที่ราชการสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
๖ .การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ (นโยบาย รบ. ข้อ ๖, , ๙)
แนวทาง คือ การดำเนินการเชิงรุกในการสนับสนุน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย การสร้างความเชื่อมั่นต่อศักยภาพและเศรษฐกิจ ของไทย และการส่งเสริมการค้าการลงทุน กับต่างประเทศ  นโยบายต่างประเทศของไทย
กิจกรรมหลัก
(๑)    การประชุมตามกรอบความร่วมมือในภูมิภาค และอนุภูมิภาคต่าง ๆ
(๒) โครงการแสวงหาตลาดและโอกาสในการลงทุน
(๓) การจัดทำความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน
(๔) โครงการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาองค์ความรู้
(๕) โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น ความมั่นคง ด้านอาหารและพลังงาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
www.fayodpo.blogspot.com

นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่น



นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่น
ดูเหมือนจะมีความเห็นสอดคล้องกันว่าด้วยเรื่องการเยียวยาเศรษฐกิจญี่ปุ่นเพื่ออนาคตที่ดี หนึ่งในวิธีการคือการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อเสริมประสิทธิภาพของเศรษฐกิจ ต้องดำเนินการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่ด้อยประสิทธิภาพต่อไป ที่สำคัญต้องสร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมที่ดีพอและให้ภาคเกษตรดำรงบทบาทหลากหลาย เช่น การอนุรักษ์ที่ดินของชาติ นอกจากนี้ยังต้องปฏิรูปต่อไปเพื่อขยายและปรับปรุงภาคบริการภายในภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่ภาคการธนาคาร การประกันภัย และหลักทรัพย์ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นธุรกิจของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นที่เรียกว่าบิ๊กแบง (Big Bang) กำลังอยู่ในระหว่างการปฏิรูป ภาคอื่นๆ เช่น การก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์และการค้าปลีกก็ต้องการการปฏิรูปที่เป็นจริงเป็นจัง ทุกภาคอุตสาหกรรมต้องแสวงหาความมีประสิทธิภาพโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นโยบายยกเลิกการควบคุม และส่งเสริมนโยบายการแข่งขันสำหรับภาคโทรคมนาคมซึ่งต้องดำเนินต่อไปอย่างแข็งขันหากจะให้ "การปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ" นั้นประสบผล รัฐบาลจะต้องเสริมความแข็งแกร่งให้แก่โครงสร้างนโยบายทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดกิจกรรมทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่บริษัทเอกชนก็ควรที่จะดำเนินการบริหารจัดการโดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น

ด้วยนโยบายเศรษฐกิจมหภาค นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่น นโยบายยกเลิกการควบคุม และนโยบายเสริมสร้างการแข่งขันที่เหมาะสมของรัฐบาล การปฏิรูปดังเช่นนี้จะขับเคลื่อนกลไกตลาดได้หรือไม่ ? คงใช่บางส่วน ที่จริงแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นในระหว่างกระบวนการเปิดเสรีทางการตลาด ก็คือพฤติกรรมของภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย เช่น วิกฤติการน้ำมัน และการแข็งค่าขึ้นของเงินเยน เพราะการตกลง Plaza accord ในปี ค.ศ.1985 เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นนี้มีส่วนเร่งในการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงของบริษัทญี่ปุ่นเป็นอย่างมากในเอเชีย สหรัฐอเมริกาและยุโรป ก่อให้เกิดระบบที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในการแบ่งงานและการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ กิจกรรมของบริษัทที่ขยายกิจการไปทั่วโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างมาก การแข่งขันกับบริษัทเหล่านี้จากอเมริกาและยุโรปได้กดดันให้บริษัทญี่ปุ่นต้องปฎิรูปตนเอง อนึ่ง อาจมีความคิดเห็นขึ้นมาได้ว่า สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการไหลเวียนของเงินทุนระดับโลกได้ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงอาจจะจัดได้ว่า ผู้วางนโยบายเพียงแต่หามาตรการสนับสนุนกลไกตลาดดังกล่าวให้แข่งแรงขึ้นก็เป็นการเพียงพอแล้ว

แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวก็อาจจะไม่เพียงพอที่จะรับมือกับปัญหาพื้นฐาน ปัญหาที่แท้จริงในด้านโครงสร้างสำหรับประเทศญี่ปุ่น คือ อัตราการเกิดที่ลดลงและการเพิ่มของจำนวนประชากรสูงอายุจะมีผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในอนาคตอันใกล้ ในอดีตประชากรวัยแรงงานมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และจะเพิ่มขึ้นจนถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2005 แล้วก็จะเริ่มลดลง ในอีกด้านหนึ่งประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นตลอด และคาดการณ์ว่าประชากร กลุ่มดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 ของประชากรทั้งหมดในปี ค.ศ.2015 นั่นหมายถึงว่าหนึ่งในสี่ของประชากรรวมทั้งตัวข้าพเจ้าเองจะมีอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งก็มีความหมายชัดเจนในตัวอยู่แล้ว นั่นก็คือเศรษฐกิจจะเติบโตไม่ได้หากปราศจากการเพิ่มขึ้นของประสิทธิผลต่อแรงงาน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นก็คือ การขาดแคลนแรงงาน นอกจากนั้น ภาระค่าสวัสดิการสังคมก็จะสูงขึ้น เพราะจำนวนแรงงานที่ต้องเลี้ยงดูผู้สูงอายุมีน้อยลง ขณะที่ผู้ที่ต้องได้รับการเลี้ยงดูมีจำนวนมากขึ้น ค่าแรงจะสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของภาระประกันสังคม ค่าสวัสดิการสังคมที่เพิ่มขึ้นจะยิ่งเป็นภาระต่องบประมาณของรัฐ ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าวประเทศญี่ปุ่นจะต้องลดการขาดดุลงบประมาณ ผู้ที่มองโลกในแง่ดีอาจกล่าวว่า การขาดแคลนแรงงานจะบังคับให้เศรษฐกิจต้องประหยัดแรงงานและกระตุ้นการพัฒนาทางเทคโนโลยีโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ และอาจจะกล่าวด้วยว่าประชากรสูงอายุจะมีส่วนช่วยการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าการพัฒนาดังกล่าวไม่น่าจะสามารถผลักดันให้เกิดการเจริญเติบโตในอัตราร้อยละ 2 ตามแผนประมาณการในขณะนี้ได้ ไม่มีชาติอุตสาหกรรมใดที่เคยประสบกับสังคมที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นจำต้องแสวงหาสองสิ่งในเวลาเดียวกัน คือหนึ่งจะต้องทำให้เศรษฐกิจมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยการปฏิรูปโครงสร้างใน ขณะที่ต้องรับมือกับปัญหาเนื้อแท้ในด้านโครงสร้างของสังคมซึ่งจะมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น เราจะหา "พลัง" เพื่อฟันฝ่าปัญหาที่ยากเช่นนั้นได้จากที่ใด ? ไม่มีใครสงสัยในการเปลี่ยนแปลงตนเองของประเทศญี่ปุ่นเพื่อการดำเนินเศรษฐกิจของตนให้มีประสิทธิภาพ อาจมีคำถามว่า อะไรที่จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ? ดังนั้นจะเป็นการดีที่จะได้ศึกษาว่าสิ่งใดที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศญี่ปุ่นในอดีต และปรัชญาใดที่ผลักดันสาธารณชนไปสู่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
  • ความท้าทายสำหรับประเทศญี่ปุ่น
สิ่งที่สำคัญอันดับแรกสำหรับญี่ปุ่น ก็คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของตนอีกครั้ง ทั้งนี้มิได้เพื่อประโยชน์ของตนแต่เพียงอย่างเดียวแต่เพื่อการพัฒนาของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ด้วย เพื่อจุดหมายนี้ ประเทศญี่ปุ่นจะต้องสร้างโครงสร้างเพื่อให้ผู้คน สิ่งของ บริการ และเงินตราสามารถหมุนเวียนผ่านแดนได้อย่างเสรีกว่าปัจจุบัน พื้นฐานของเหตุผลสำหรับนโยบายดังกล่าวมิใช่ "การบรรลุความรับผิดชอบในฐานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2" อีกต่อไป ทว่ากลับเป็น "ความท้าทาย" ใหม่ซึ่งประเทศญี่ปุ่นต้องรับท้าเพื่อฟื้นความแข็งแกร่งของตนใหม่ พลังผลักดันสำหรับความท้าทายนี้ก็คือ "ไนอัทสึ" (แรงกดดันภายใน) มากกว่า "ไกอัทสุ" ประเทศญี่ปุ่นไม่ควรพึ่ง "ไกอัทสุ" อีกต่อไป
ในทศวรรษ 90 ประเทศอื่น ๆ ในโลกได้เร่งเคลื่อนไหวเพื่อการรวมตัวกันในระดับทวิภาคีหรือระดับภูมิภาครวมถึงข้อตกลงการค้าเสรีให้เป็นกรอบในการสร้างเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นไม่เลือกที่จะเข้าร่วมทำข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี หรือการรวมตัวทางเศรษฐกิจในเอเชีย ? มีข้อตกลงการค้าเสรีมากกว่า 120 รายการในโลก การรวมตัวกันระดับทวิภาคีหรือระดับภูมิภาคทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่แข็งแกร่งในเวลานั้น แนวโน้มเช่นนั้นดูจะโดดเด่นมากในทศวรรษ 90 ในบรรดาประเทศใหญ่ มีเพียงญี่ปุ่น เกาหลี และจีนที่มิได้มีการตกลงในข้อตกลงการค้าเสรี หมายความว่ามีเหตุผลที่ญี่ปุ่นไม่ควรแสวงหาข้อตกลงการค้าเสรีหรือว่าการแสวงหาข้อตกลงการค้าเสรีมิอาจเป็นจริงได้ ? ทางเลือกสำหรับคริสต์ศตวรรษ 2000 จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงหรือไม่ ?
ดังที่ได้อภิปรายมาในข้างต้น กระบวนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเป็นกระบวนการรวมตัวเองเข้ากับระบบการค้าเสรีพหุภาคี ส่วนหนึ่งเพราะว่าประเทศญี่ปุ่นถูกเลือกปฎิบัติในช่วงแรกหลังสงครามยุติใหม่ ๆ ประเทศญี่ปุ่นมุ่งกับการเปิดตลาดเสรีตามหลักการพื้นฐาน ในการไม่เลือกปฏิบัติของ GATT แม้ประเทศญี่ปุ่นเปิดตลาดของตนโดยการลดอัตราภาษีศุลกากรและยกเลิกการกีดกันที่ไม่ใช่ทางภาษีศุลกากรด้วยการเจรจาทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา ผลของการเจรจาดังกล่าวได้นำไปใช้กับคู่สัญญาทุกฝ่ายของ GATT โดยยึดตามหลักการการไม่เลือกปฏิบัติ การธำรงและเสริมสร้างระบบการค้าเสรีพหุภาคีถือเป็นนโยบายสำคัญของชาติ ประเทศญี่ปุ่นจึงได้ตกลงเปิดตลาดข้าวในการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัยของ GATT
ในขณะเดียวกัน การทำข้อตกลงการค้าเสรีก็ไม่ขัดกับระบบการค้าเสรีพหุภาคีซึ่งรับรองโดย GATT และ WTO ซึ่งเป็นองค์การสืบต่อจาก GATT ตามข้อตกลง WTO ได้กำหนดกติกาว่าด้วยข้อตกลงการค้าเสรีด้วย หากไม่มีการกำหนดกติกา ข้อตกลงการค้าเสรีอาจกลายเป็นช่องทางให้ประเทศที่ลงนามเลือกปฏิบัติต่อประเทศที่ไม่ได้ลงนามในข้อตกลงด้วยการยกเลิกภาษีศุลกากรและกำแพงการค้าอื่น ๆ เฉพาะภายในกลุ่มมาตราที่ 24 ของ GATT กำหนดว่า จะอนุญาตให้มีข้อตกลงการค้าเสรีได้เฉพาะเมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไข เช่น การยกเลิกอัตราภาษีศุลกากรและข้อจำกัดทางการพาณิชย์อื่น ๆ ในการค้าทั้งหมดของระหว่างประเทศที่ลงนาม โดยมีเหตุผลสนับสนุนว่าการค้าเสรีที่สมบูรณ์แบบมากขึ้นแม้จะยังคงจำกัดอยู่เฉพาะในบางประเทศ แต่ในที่สุดจะนำไปสู่การขยายตัวของการค้าโลกอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมนานาชาติโดยรวม
นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่น ตามหลักการแล้ว มีความเป็นไปได้ที่ประเทศญี่ปุ่นจะดำเนินนโนบายในการส่งเสริมการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในระดับทวิภาคีหรือระดับภูมิภาคโดยทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศอื่น ๆ เช่นเดียวกับยุโรป สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในขณะที่ให้การสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีของ GATT และ WTO เห็นได้ ชัดเจนว่าทำไมประเทศญี่ปุ่นจึงไม่ดำเนินนโยบายดังกล่าว ประเทศญี่ปุ่นไม่ได้เห็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือความจำเป็นทางการเมืองที่จะต้องดำเนินนโยบายดังกล่าว ด้วยการขยายตัวของการส่งออกและเศรษฐกิจของชาติ ชาวญี่ปุ่นจึงรู้สึกว่าอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นสดใส การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้น ทำให้การเปิดตลาดในประเทศภายใต้หลักการไม่เลือกปฏิบัติสำคัญมากกว่าการแสวงหาข้อตกลงการค้าเสรี ในทางการเมืองประเทศญี่ปุ่นรู้ว่าจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย-แฟซิฟิกโดยเฉพาะหลังจากการยุติของสงครามเย็น เพื่อจุดประสงค์นี้ ประเทศญี่ปุ่นเลือก APEC ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาคอย่างหลวม ๆ ระหว่างประเทศในเอเชีย-แปซิฟิกหลายประเทศมากกว่าการทำข้อตกลงการค้าเสรี
อย่างไรก็ตาม จากแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในประเทศและนอกประเทศทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องกำหนดนโยบายใหม่ ในส่วนภายในประเทศก็จำเป็นจะต้องขยายตลาดโดยการส่งเสริมการไหลเวียนอย่างเสรียิ่งขึ้นของผู้คน สิ่งของ บริการ และเงินตรา หากต้องการอนาคตที่ดีท่ามกลางการขยายตัวของสังคมผู้สูงอายุ และการถดถอยของอัตราการเกิดต่ำลง ในอีกทางหนึ่ง ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียได้เพิ่มความเป็นประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการตลาดเพื่อโอกาสการเป็นพันธมิตรในอนาคตกับประเทศญี่ปุ่นในการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมรอบประเทศญี่ปุ่นมีความพร้อมมากขึ้นเป็นลำดับเพื่อที่จะดำเนินนโยบายใหม่ของประเทศญี่ปุ่น


แนวทางใหม่
เนื่องจากการรวมตัวกันของยุโรปได้ริเริ่มโดยความพยายามร่วมกันของประเทศฝรั่งเศสและเยอรมันและการรวมกันของ NAFTA เกิดจากข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหรัฐอเมริกาและแคนาดา การส่งเสริมการรวมเศรษฐกิจตลอดจนข้อตกลงการค้าเสรีจึงไม่สามารถกระทำได้โดยลำพังประเทศเดียว จำเป็นต้องมีประเทศหุ้นส่วนที่เห็นคุณค่าร่วมกัน สิงคโปร์เป็นประเทศหนึ่งที่สามารถเป็นคู่หุ้นส่วนดังกล่าว เพราะมีท่าทีเชิงบวกในการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ยังเป็นประเทศที่เศรษฐกิจมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1999 นายกรัฐมนตรี เคอิโซะ โอบุชิ แห่งประเทศญี่ปุ่น และนายกรัฐมนตรี โกะ จ๊ก ตง แห่งประเทศสิงคโปร์ได้ตกลงที่จะทำการศึกษาร่วมกันเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีในระดับนักธุรกิจ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญและข้าราชการ จากการศึกษาร่วมกันได้มีการเสนอข้อตกลงการค้าเสรีที่กว้างขวางระหว่างประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์สำหรับยุคใหม่ ข้อตกลงการค้าเสรีทั่วไปส่วนใหญ่จะครอบคลุมการยกเลิกภาษีศุลกากรและการกีดกันที่ไม่ใช่ทางภาษีศุลกากรกับสินค้า ข้อตกลงการค้าเสรีในศตวรรษที่ 21 ไม่ควรครอบคลุมเฉพาะเรื่องสินค้า แต่ควรแสวงหาความร่วมมือและความปรองดองในกติกาและรูปแบบในเกือบทุกส่วนของเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงความปรองดองในการเปิดเสรีทางการค้าบริการและการไหลเวียนของเงินทุน ความปรองดองในกฎระเบียบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ความร่วมมือในด้านการค้าไร้กระดาษ การบริการทางการเงิน และสื่อ/การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนบุคลากรและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พูดง่าย ๆ ก็คือ ควรจะยกเลิกพรมแดนทางเศรษฐกิจนั่นเอง
ทำไมต้องเป็นสิงคโปร์ ? มีเหตุผลบางประการ ประการแรกคือประเทศสิงคโปร์เป็นชาติที่ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อคนใกล้เคียงกับรายได้ต่อคนของประเทศญี่ปุ่น มีระบบเศรษฐกิจที่ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี แม้จะมีจำนวนประชากรไม่ถึง 4 ล้านคน แต่ก็เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 และเป็นแหล่งการลงทุนที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 สำหรับบริษัทญี่ปุ่น ในขณะที่มีการชี้แจงว่าเป็นการยากที่จะบรรลุการแบ่งงานในแนวนอนได้โดยข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกำลังพัฒนา ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศสิงคโปร์และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศอุตสาหกรรมด้วยกัน สามารถส่งเสริมการแข่งขันและนำไปสู่เศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ภาษาที่เป็นทางการของสิงคโปร์ภาษาหนึ่งคือ ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่จำเป็นในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ประการที่สอง ประเทศสิงคโปร์มีพันธสัญญาต่อระบบการค้าพหุภาคีเช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์มีทัศนะร่วมกันว่า ทั้งสองประเทศสามารถและควรที่จะสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีครอบคลุมสาขาหลากหลายกว้างขวางและขยายความสัมพันธ์นี้ไปสู่การเปิดเสรีและความร่วมมือระดับโลก ประการที่สาม ประเทศสิงคโปร์เป็นสมาชิกของอาเซียน และข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศสิงคโปร์จะช่วยเสริมความสัมพันธ์ของประเทศญี่ปุ่นกับอาเซียน ข้อตกลงการค้าเสรีแบบใหม่ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์สามารถใช้เป็นฐานสำหรับการเปิดเสรีและการกระตุ้นเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก ข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าวอาจบรรลุผลดียิ่งขึ้น หากประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์และประเทศที่มีภาวะทางเศรษฐกิจเติบโตถึงขั้นอีกประเทศหนึ่งคือ สาธารณรัฐเกาหลี เข้าร่วมในข้อตกลง แม้ว่าอาจจะเป็นการยากที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ และประเทศจีนในเวลานี้ เนื่องจากความแตกต่างในระดับภาวะความเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ทางเลือกดังกล่าวควรค่าแก่การแสวงหาในอนาคต เราคงต้องจำไว้ว่ายังคงมีหลักการบางประการที่จะต้องปฏิบัติตามเพื่อมุ่งสู่ทางเลือกในการทำข้อตกลงการค้าเสรี
ประการแรก ข้อตกลงการค้าเสรีไม่สามารถเป็นสิ่งทดแทนของระบบการค้าพหุภาคีหรือระบบ WTO (องค์การค้าโลก) ได้เลย WTO ยังต้องเป็นกรอบร่วมกันสำหรับระบบการค้าเสรีของโลกต่อไปและไม่ควรจะถูกทำลาย ชี้ให้ชัดกว่านี้คือไม่ควรทำข้อตกลงการค้าเสรีซึ่งไม่สอดคล้องกับกติกาของ WTO ความจริงแล้วกติกาของ GATT ในการยกเลิกอัตราภาษีศุลกากรและการกีดกันทางการค้าอื่น ๆ ต่อ "การค้าทั้งหมด" (substantially all the trade) มิได้หมายถึงการเปิดเสรีการค้าสินค้า 100 เปอร์เซ็นต์ WTO ตั้งเงื่อนไขยืดหยุ่นบางประการ เช่น ให้การยกเว้นสินค้าบางรายการในจำนวนจำกัด และให้ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนถึง 10 ปี ยิ่งกว่านั้นเนื่องจากไม่ค่อยมีการค้าทางการเกษตรและภาคที่อ่อนไหวอื่น ๆ ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์ จึงอาจมีช่องทาง สำหรับทางออกที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ประเทศญี่ปุ่นไม่ควรลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีใด ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับกฎกติกาของ WTO เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเคร่งครัดเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีอื่น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับ WTO มาตลอด
ประการที่สอง ต้องตระหนักอย่างถ่องแท้ว่าจุดประสงค์ของข้อตกลงการค้าเสรีคือการเสริมสร้างการแข่งขันในบรรดาประเทศสมาชิกและนำไปสู่การเสริมประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในที่สุด กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นการไร้ความหมายที่ทำข้อตกลงโดยไม่กำหนดการเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปใด ๆ การเปิดเสรีและการแข่งขันจำต้องเจ็บปวดจากการปฏิรูปโครงสร้าง แต่สิ่งนี้จะส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นปฏิรูปเพื่อประโยชน์ของตนนอกจากนี้เมื่อทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจที่เล็กกว่าญี่ปุ่นมาก ประเทศญี่ปุ่นควรจะเอื้อเฟื้อต่อคำเรียกร้องของประเทศเหล่านั้น
ประการที่สาม ประเทศญี่ปุ่นควรจะเรียกร้องประเทศคู่เจรจาให้เปิดเสรีทางเศรษฐกิจ พึงระลึกว่าการทำเช่นนี้ในเอเชียจำต้องมีความรอบคอบเนื่องด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ประเทศญี่ปุ่นต้องระมัดระวังให้มากพอที่จะไม่ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ว่าข้อตกลงการค้าเสรีในเอเชียตะวันออกเป็นเครื่องมือเพื่อการครอบงำทางเศรษฐกิจ สำหรับญี่ปุ่น พึงคำนึงว่าแม้การเปิดเสรีเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่การเปิดเสรีอย่างรวดเร็วอาจจะส่งผลต่อเสถียรภาพของบางประเทศขึ้นอยู่กับระดับขั้นของพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ นอกจากนั้นในขณะที่ดำเนินการเพื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการเสริมสร้างระบบก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน พิจารณาจากประเด็นเหล่านี้ประเทศญี่ปุ่นควรจะส่งเสริมการเปิดเสรีและการกระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่กับประเทศหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
ประการที่สี่ ไม่ควรให้มีการแปลการเคลื่อนไหวดังกล่าวผิดว่าเป็นความพยายามที่จะสร้างกลุ่มเศรษฐกิจภายในขึ้นในเอเชีย ทั้งนี้เป็นความพยายามเพื่อการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจมิใช่การสร้างกลุ่มในภูมิภาค
ประการที่ห้า ประเทศหุ้นส่วนของประเทศญี่ปุ่นในการทำข้อตกลงการค้าเสรีไม่ควรถูกจำกัดแต่เฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออก ควรศึกษาเกี่ยวกับการทำข้อตกลงกับภูมิภาคอื่น ๆ หากมีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์ ตัวอย่าง เช่น ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศเม็กซิโกที่ซึ่งธุรกิจญี่ปุ่นอยู่ในภาวะด้อยกว่าเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปก็ควรค่าแก่การพิจารณา ความสัมพันธ์กับบางประเทศ ซึ่งได้แสดงความสนใจในการทำข้อตกลงกับประเทศญี่ปุ่น เช่น สวิตเซอร์แลนด์และชิลี ก็เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาเช่นกัน
ประการสุดท้าย แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นยังมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออก แต่สหรัฐอเมริกาก็ยังเป็นประเทศหุ้นส่วนที่สำคัญที่สุดในด้านการเมือง ความมั่นคงและเศรษฐกิจสำหรับประเทศญี่ปุ่น เมื่อประธานาธิบดีคนใหม่เข้ารับตำแหน่งเป็นทางการแล้ว ประเทศญี่ปุ่นควรจะวางความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสหรัฐอเมริกาในลักษณะใด ?
จะไม่มีที่ว่างสำหรับ "ไกอัทสุ" จากสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป ข้อพิพาททางการค้าแต่ละเรื่องควรยุติโดยข้อกำหนดตามกระบวนการขององค์การการค้าโลก แน่นอนว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสหรัฐอเมริกาเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่น มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา ? จากปริมาณและลักษณะการค้าในปัจจุบันระหว่างสองประเทศ การทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาจะก่อประโยชน์มหาศาลต่อประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม พิจารณาจากอัตราส่วนของสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในการค้าระหว่างประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา และน้ำหนักของประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาในระบบการค้าพหุภาคีแล้ว ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาคงจะเป็นข้อพิจารณาในอนาคต
นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ควรให้ความสำคัญอันดับแรกต่อการประสานนโยบายและกติการะหว่างประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาในสาขานอกกติกาขององค์การการค้าโลกมากกว่าการทำข้อตกลงการค้าเสรีของการค้า "ตามแบบที่เคยดำเนินมาก่อน" เพราะได้มีการลดภาษีศุลกากรในระดับทั่วไประหว่างสองประเทศลงเพียงพอแล้ว ทั้งสองประเทศต้องทำงานหนัก เพื่อการประสานนโยบายและกติกาดังกล่าวให้เป็นสากลผ่านองค์การการค้าโลก ประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาควรจะยกระดับความร่วมมือและการพึ่งพาซึ่งกันและกันด้วยการยกเลิกการควบคุม การมีมาตรการส่งเสริมการลงทุน นโยบายการแข่งขันและการประสานระบบงานเช่น กรอบทางกฎหมายสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในด้านความสัมพันธ์ของประเทศญี่ปุ่นกับประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ประเทศในสหภาพยุโรป แคนาดา และออสเตรเลียก็สามารถกล่าวได้ว่าเป็นไปในแนวเดียวกันแม้สถานการณ์อาจจะแตกต่างกันก็ตาม
ข้อตกลงการค้าเสรีต้องส่งผลให้เกิดการส่งเสริมการเปิดเสรีและการตื่นตัวทางเศรษฐกิจตลอดจนการขยายตัวของตลาดซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศหุ้นส่วนอื่นๆ ที่ไม่ได้ร่วมทำข้อตกลงดังกล่าว ในการดำเนินนโยบายดังกล่าวจำเป็นต้องสร้างมติมหาชนในหมู่ชนชาวญี่ปุ่น ที่สำคัญอีกประการคือการสร้างกระบวนการที่โปร่งใสกับประเทศหุ้นส่วนและพันธมิตรของญี่ปุ่น โดยคำนึงถึงความหมายในระดับการทูต และการเมืองของความสัมพันธ์พิเศษทางเศรษฐกิจซึ่งกำเนิดมาจากข้อตกลงการค้าเสรี
www.fayodpo.blogspot.com